วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

ประกันรถตู้ การดูทะเบียนเพื่อแยกรหัสรถ ภาคสมัครใจ

ประกันภัยรถตู้
หลังจากมีการจัดระเบียบ ในยุค คสช ทำให้ทะเบียนรถตู้ ตอนนี้แบ่งเป็นหมวดหมู่ ที่ง่ายต่อการแยกประเภทการใช้งานรถตู้

รถตู้รหัส 210 คือรหัสภาคสมัครใจสำหรับรถตู้ใช้งานส่วนบุคคล ซึ่งป้ายทะเบียนเป็นพื้นสีขาว อักษรสีฟ้า ทะเบียนขึ้นต้นด้วยตัวอักษร นx อx ฮx หรืออาจมี ฬ ด้วย

รถตู้รหัส 220 คือรถใช้งานพาณิชย์ แต่ไม่ได้ไปรับจ้างประจำทาง คือรถทะเบียนขึ้นต้นด้วยตัวอักษรแบบรหัส 210 แต่นำไปรับจ้างเช่น นำไปรับส่งนักเรียน นำไปรับส่งพนักงาน และรวมรถกลุ่มที่ทะเบียนขึ้นต้นด้วย 30 xxxx ถึง 35 xxxx ซึ่งเป็นป้ายพื้นสีเหลืองตัวเลขสีดำ และ 36 xxxx ถึง 39 xxxx ซึ่งเป็นป้ายพื้นขาวตัวเลขสีฟ้า

รถตู้รหัส 230 เป็นรถตู้ประจำทาง เป็นนักเลงประจำถิ่น รถจะเป็นพวก ขสมก รถร่วม วิ่งประจำทาง จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง เป็นเจ้าถนน กลุ่มนี้ทะเบียน 10 xxxx ถึง 19 xxxx ป้ายพื้นสีเหลืองตัวเลขสีดำ    

เห็นทะเบียนก็สามารถเลือกซื้อประกันให้ตรงรหัสรถได้เช่น


32 แบบนี้ต้องซื้อ รหัส 220


ทะเบียนตัวอักษรสีฟ้าแบบนี้ ต้องถามว่าใช้ส่วนตัว หรือ รับส่งพนักงาน ถ้าส่วนตัวก็ 210 รับส่งพนักงาน นักเรียนก็ 220




ทะเบียน 14 แบบนี้เป็นนักเลงประจำถิ่น วิ่งรถประจำทาง ไม่ออกนอกเส้นทางเรียกรับจ้างประจำทาง ใช้ 230 ส่วนมากไม่ค่อยมีใครรับเพราะเสี่ยงสูง

36 แบบนี้ ใช้รหัส 220 (แต่ก็มีบางบริษัท จัดรถ 36 - 39 ไปใช้เบี้ยประกันเดียวกับรถรหัส 230 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นสำหรับบางที่ให้รู้ไว้เท่านั้น ไม่ตรงหลักการรับประกัน)




เลือกซื้อประกัน สำหรับรถตู้ 

ประกันภัยรถยนต์ 3 พลัส (3+)

ประกันภัยรถยนต์ 2+ (2 พลัส)

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3


หมวดความคุ้มครองต่อตัวรถ ใครคือผู้มีบทบาทสำคัญ

ประสบการณ์ในการซ่อมรถเอาประกัน หลายครั้ง ทำให้รู้ว่า เวลาแจ้งเคลมประกันหมวดความเสียหายต่อตัวรถ ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูก หรือฝ่ายผิด ผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญในการซ่อมรถกลับสู่สภาพเดิม ตามสัญญาของประกัน คือ เราเองผู้เอาประกัน

ทำไมผู้เอาประกันต้องมีบทบาทสำคัญ
เนื่องจากว่าผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 ส่วนคือ อู่ซ่อม บริษัทประกัน ผู้เอาประกัน มีบทบาทหน้าที่ต่างกัน
อู่ซ่อม มีหน้าที่ซ่อมรถที่เสียหายให้กลับสู่สภาพเดิม
บริษัทประกันมีหน้าที่ จัดหาอะไหล่ อนุมัติค่าซ่อม
ผู้เอาประกันมีหน้าที่ตรวจรถว่า กลับสู่สภาพเดิมก่อนรับประกันหรือไม่

ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อ
อู่ซ่อมทำไม่ดี ไม่มีการตรวจสอบว่ารถที่ซ่อมเสร็จแล้ว ผ่านมาตรฐาน ผ่าน QC หรือไม่
ประกันเล่นแร่ แปรธาตุ จัดหาอะไหล่เทียม อะไหล่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัย เพื่อประหยัดต้นทุน
ผู้เอาประกันไม่รู้เรื่อง โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งไม่รู้หรอกว่า รถสภาพเดิมๆ นั้นมันเป็นแบบไหน ขนาดคนที่มีความรู้เรื่องรถ ยังไม่รู้เรื่องเลยครับ


ลองมาดูตัวอย่าง
ภาพด้านล่างนี้คือ สภาพรถที่เปิดฝากระโปรงท้ายเพื่อเช็คความเรียบร้อย ดูแล้วก็ปกติใช่มั้ยครับ แต่ผมสงสัยว่า รถ city 2009 คันนี้มันน่าจะมีผ้าปิดตรงฝากระโปรงไม่ใช่หรอ ถามเจ้าหน้าที่อู่ที่ส่งมอบรถก็ตอบว่า ไม่มี ก็เลยกลับมาบ้านด้วยความสงสัย

พอกลับมาเปิด internet ดู ตามรูปด้านล่าง อ่าว โดนต้มเสียแล้ว 
ต้องขอบคุณ google ที่ทำให้คนที่ไม่รู้เรื่องรถ แต่อย่างน้อยก็เอารูปไปอ้างอิงกับผู้รับผิดชอบคือ บริษัทประกัน ให้ไปบอกอู่ว่า ต้องซ่อมรถหรือหาอะไหล่ให้ลูกค้าใหม่ ให้เหมือนเดิมก่อนเกิดเหตุ

อันนี้เป็นแค่ตัวอย่าง จริงๆ มีอีกหลายรายการ 
ที่อู่ซ่อมรถที่ชนแล้ว ไม่กลับสู่สภาพเดิมก่อนเกิดเหตุนั้นๆ บางรายการก็มีผลกับความสวยงาม บางรายการก็มีผลกับความปลอดภัย แต่ทุกรายการที่แตกต่างจากสภาพเดิม คือ ความเสื่อมสภาพจากการเกิดเหตุ แล้วการซ่อมไม่สามารถทำให้กลับสภาพเดิมได้ พวกนี้คือต้นเหตุทำให้รถที่ถูกชนนั้น ราคาขายต่อ จะโดยกดราคาให้ต่ำกว่า รถที่ไม่เคยซ่อมหนัก

คำถามต่อมาคือ ความเสื่อมสภาพจากการซ่อมนี้ ไปเบิกกับใครได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายโดนละเมิด  เช่น ราคารถตกลง 50,000 บาท จากรุ่นเดียวกันหากเอาไปขายต่อที่เต้นท์รถ ตรงนี้ไปเบิกกับฝ่ายผิดได้หรือไม่

คำตอบคือ เมืองไทยเราน่าจะยากเพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้ชัดเจนได้ว่า ราคาตกไปกี่บาท แต่ความเป็นจริงแล้ว วิญญูชนทั่วไปย่อมรู้ดี ว่าราคารถนั้นตกแน่นอน  หากไปเบิกกับประกันฝ่ายผิด ก็จะบอกว่า ทางประกันฝ่ายผิดได้รับผิดชอบค่าซ่อมไปหมดแล้ว เป็นหน้าที่ของอู่ที่ต้องทำให้รถกลับสภาพเดิม

นี้คือด้านมืดของวงการประกันภัยในเมืองไทย ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถเข้ามาทำปัญหาให้กระจ่างได้ แต่ยังดีที่ คปภ. ยังให้ความสำคัญกับ ค่าเดินทางระหว่างรอซ่อม ซึ่งส่วนนี้สามารถเรียกร้องจากประกันฝ่ายผิดได้ หากประกันไม่จ่าย ก็ไปร้องเรียนคปภ.ได้ ให้คปภ.เรียกประกันคู่กรณีมาเจรจา

สรุปความสำคัญของการซ่อมรถตามหมวดความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถคือ
  1. อู่มีหน้าที่ซ่อมให้รถกลับสู่สภาพเดิม เป็นหลักสำคัญที่เจ้าของอู่ต้องพูดใส่หูช่างทุกคนในอู่ให้ตระหนัก
  2. ประกันมีหน้าที่จัดหาอะไหล่ที่มีคุณภาพให้ลูกค้าด้วยความรวดเร็ว
  3. ผู้เอาประกันมีหน้าที่ตรวจสอบรถให้กลับสู่สภาพเดิม ณ วันที่ซ่อมเสร็จ เพราะอู่กับประกัน ไม่มาช่วยดูให้ ซึ่งผู้เอาประกันต้องมีบทบาทสำคัญเพราะอู่ก็จ้องจะลักไก่งานซ่อม ประกันก็เน้นประหยัดค่าอะไหล่ 
  4. คปภ. ยังไม่มีเวลามาดูปัญหาตรงนี้ เพราะคงกำลังแก้ปัญหาสำคัญ อื่นๆอยู่