วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พรบ รถยนต์ รหัสสำหรับพรบ รถยนต์ คืออะไร

พรบ รถยนต์ ที่ใช้บ่อย คือ 

รถเก๋ง ส่วนบุคคล รถกระบะส่วนบุคคล และรถตู้ส่วนบุคคล 

ส่วนพรบ ที่มีซื้อเข้ามาบ้าง ใช้ไม่บ่อยคือ 

พรบ รถตู้รับจ้างไม่เกิน 15 ที่นั่ง

ตัวแทนนายหน้า ที่ไม่มีความรู้เรื่องรหัส พรบ รถยนต์ สามารถดู รหัส สำหรับออก พรบ รถยนต์ ได้ตามตารางด้านล่าง



รหัส สำหรับ พรบ กับรหัสกธ ภาคสมัครใจ แตกต่างกันหรือไม่ 

แตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง อาจคล้ายๆ กัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น
รถเก๋ง ออกกธ ชั้น 1 ใช้รหัส 110 ออก พรบ รถเก๋งใช้รหัส  1.10
รถกระบะ ออกประกันภาคสมัครใจ รหัส  320 ออก พรบ ใช้รหัส 1.40A เป็นต้น

เบี้ยสุทธิ และ เบี้ยรวมแตกต่างกันอย่างไร

เบี้ยสุทธิ คือเบี้ยประกัน ที่เข้าบริษัทประกัน
เบี้ยรวม คือ บวกเงินที่รัฐบาลฝากมาเก็บเพิ่มคือ อากร และ vat สองอย่างนี้ จ่ายให้บริษัทประกันพักเงินไว้ บริษัทประกันก็จะนำ อากร และ vat ส่งเข้าสรรพากรเป็นรอบๆ ไม่ใช่เงินที่ประกันได้ เป็นภาระหน้าที่ของประกันในการเก็บ และพักเงิน ก่อนนำส่ง รวมถึงการทำบัญชี รายงานสรรพากรอีกต่างหาก

ใครเป็นคนกำหนดให้เก็บค่า พรบ เท่านี้ต่อปี

นายทะเบียน หรือ คปภ เป็นคนคิดเอง ทำเอง อาจคำนวนจากสถิติสินไหมแล้วว่าให้เก็บ 600 บาทต่อปีสำหรับรถเก๋ง ส่วน อากรกับ vat เป็นไปตามกฎหมายกำหนด คือ 250 บาท คิดอากร 1 บาท เศษปัดขึ้น 600/250= 2.4 ปัดเป็น 3 บาท รวม 603 นำไปคูณ vat ปัจจุบัน 7% = 42.21 บาท รวมเงินที่ประกันได้ กับเงินที่รัฐฝากมาเก็บคนทำประกัน คือ 600 + 3 + 42.21 หรือ 645.21 บาท
-------------
Update การเปลี่ยนวงเงินความคุ้มครอง พ.ร.บ. รถยนต์ เริ่ม 1 เมษายน 2559
เป็นข่าวดีของคนไทย นายทะเบียน ได้กำหนดค่าสินไหม พ.ร.บ. ใหม่เป็นของขวัญของคนไทย หลักๆ ที่เพิ่มขึ้นคือ
  • เสียชีวิต จากเดิมได้ 2 แสน เปลี่ยนเป็น 3 แสน เพิ่มขึ้น 50% เลยทีเดียวนะครับ
  • ค่ารักษาสำหรับบุคคลภายนอกหรือผู้โดยสารรถ จากเดิมได้ 50,000 บาท เพิ่มเป็น 80,000 บาท 
  • เห็นได้ว่า ด้วยสินไหมที่เพิ่มขึ้นนี้เอง บริษัทรับประกันที่เน้นขายพ.ร.บ. อย่างเดียวได้ผลกระทบตรงๆ แน่นอนเพราะ ต้องลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ลงเช่น ค่านายหน้า เพื่อรักษาให้เบี้ยรับ พอๆ กับสินไหมที่ต้องจ่าย
  • เบี้ยประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ประชาชนจ่ายเท่าเดิม